TH
TH EN
x

มะเร็งปากมดลูก ภัยใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง

มะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว โดยในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในแต่ล่ะปีประมาณ 9,000 คน และพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 4,000 - 5,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 50% ของผู้หญิงที่เป็นโรคนี้เลยทีเดียว  วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ให้สาวๆพึงระวัง และรักษาสุขภาพร่างกายตัวเองให้แข็งแรง ไปทำความรู้จัก มะเร็งปากมดลูกกัน

ที่มาของข้อมูล :  sikarin.com



ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงตั้งแต่อายุก่อน 30 จนถึง 80 ปี โดยพบมากในช่วงอายุ 35 - 50 ปี  พฤติกรรมส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และรู้สึกเขินอายกลัวที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลามยากต่อการรักษา 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

-มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน 

-สูบบุหรี่

-รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลายาวนาน

-การตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคน

-ภูมิคุ้มกันไม่ดี

-การละเลยไม่ไปตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


อาการของมะเร็งปากมดลูก

ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อมะเร็งลุกลามอาจมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ หลังหมดประจำเดือน มีตกขาว ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด เกิดจากมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง 


วิธีการรักษา

ระยะก่อนลุกลาม 

-การตรวจภายใน ทำแพปสเมียร์ และตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ทุก 4 - 6 เดือน รอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 ปี

-การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

-การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น

-การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด

 ระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยและระยะของมะเร็ง

-ระยะที่ 1 และ 2 บางราย รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก

-ระยะที่ 2 - 4 รักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด


การป้องกัน

-หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสูบบุหรี่

-ตรวจคัดกรองความผิดปกติของปากมดลูก โดยการตรวจแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ การตรวจหาเชื้อ HPV

-การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยฉีดทั้งหมด 3 เข็ม

-เข็มแรก ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ

-เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 1 - 2 เดือน

-เข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มแรก 6 เดือน

"วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดให้กับเด็กผู้หญิงอายุ 9 - 14 ปี หรือผู้ที่ยังไม่ผ่านการเพศสัมพันธ์มาก่อน แต่หากเป็นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือไม่มีเซลล์ผิดปกติ "

ปัจจุบันวัคซีนมี 2 ชนิด สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ถึง 75% ประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ 16 และ 18 สูงเกือบ 100% ชนิดแรกคือ

วัคซีน Cervarix (2 สายพันธุ์) และ วัคซีน Gradasil (4 สายพันธุ์) เพิ่มการป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11 เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ  นอกจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรไปตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก



จะมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งไหนๆ ก็หายห่วง เพราะมี Cancer Can Go

มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งไหนๆ ก็น่ากลัวทั้งนั้น เพราะคาดเดาได้ยากว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร หายห่วงเรื่องมะเร็งต้องเลือก แผนประกันมะเร็ง Cancer Can Go พร้อมที่จะให้ความคุ้มครอง ทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินคุ้มครองก้อนใหญ่ หากตรวจพบมะเร็งระยะลุกลาม หากไม่ป่วย จ่ายเบี้ยไม่ทิ้งเปล่า ครบสัญญา รับเงินก้อน 

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันมะเร็ง Cancer Can Go ได้ที่ : https://www.kwilife.com/cancer

**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์




KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่