TH
TH EN
x

LONG COVID มีผลแค่ไหนกับโรคสมองและระบบประสาท

หลังหายจากการติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสที่เราจะต้องประสบกับอาการลองโควิดที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าเดิม แถมบางคนอาจยังมีอาการป่วยไม่ต่างกับตอนติดเชื้ออยู่เลย โดยเฉพาะความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย  รวมไปถึงอาการทางสมองและระบบประสาท ที่ทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อน วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้รู้เท่าทันและลดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นหลังหายจากโควิด 19

ที่มาของข้อมูล : bangkokinternationalhospital.com , thansettakij.com



รู้จักภาวะลองโควิด LONG COVID

อาการคล้ายคลึงกับการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว และอาจมีบางอาการที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสตัวนี้ เช่น การไม่ได้กลิ่นหรือการไม่ได้รส อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อสามารถมีอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรักษาหายจากโรคแล้วได้ด้วย กลุ่มอาการเหล่านั้นเรียกว่า ภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (LONG COVID)


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง LONG COVID 

สาเหตุของลองโควิด (LONG COVID) ยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่จากหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันคาดการณ์ว่า ภาวะนี้น่าจะเกิดจาก 3 สาเหตุที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

-เชื้อไวรัสไปทำลายสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น

-ติดเชื้อไวรัสแล้วร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันและสารอักเสบมากขึ้นจนไปทำลายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ

-ผลกระทบหลังการเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงจะมีการทำลายของระบบไหลเวียนขนาดเล็ก รวมถึงมีความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่และสารน้ำในร่างกาย จึงทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานที่ผิดปกติหลังจากผ่านพ้นการเจ็บป่วยดังกล่าว



อาการ LONG COVID

ลองโควิด (LONG COVID) คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อโควิดตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย โดยมีอาการและอาการแสดงในแต่ละระบบที่แตกต่างกันไปดังนี้

-ระบบทางเดินหายใจ  อาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก

-ระบบหัวใจและหลอดเลือด  อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว

-ระบบทางเดินอาหาร  ปวดท้อง ท้องเสีย ลดความอยากอาหาร อาการอื่น ๆ ที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อระบบใด ๆ   ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย

-ความผิดปกติที่พบได้จากการตรวจเลือดโดยไม่มีอาการ – เช่น ค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้นผิดปกติ ค่าการกรองและการทำงานของไตลดลง ค่าการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลลดลงในผู้ป่วยเบาหวาน และค่าระบบการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ เป็นต้น



กลุ่มใดที่มีความเสี่ยง LONG COVID

การติดเชื้อโควิด19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ แม้หายแล้วก็จะมีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติระยะยาวที่เรียกว่า LONG COVID ได้ 20-40%  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุก็ตาม และไม่ว่าจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรง ก็สามารถเกิดภาวะ LONG COVID ได้ 

-เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศชาย

-ผู้ใหญ่มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเด็ก

-คนที่ป่วยมีอาการหลายอย่างมีความเสี่ยงมากกว่า

-คนที่ป่วยรุนแรงมีความเสี่ยงมากกว่าคนป่วยแบบอาการน้อยหรือไม่มีอาการ

-คนที่ฉีดวัคซีนครบอย่างน้อยสองเข็มจะมีความเสี่ยงลดลงบ้าง ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ฉีด


LONG COVID มีผลกับโรคสมองและระบบประสาทอย่างไร

LONG COVID กับอาการทางระบบประสาท

อีกหนึ่งในกลุ่มอาการลองโควิด (LONG COVID)ที่พบได้บ่อย คือ อาการในส่วนของระบบประสาทและจิตเวชศาสตร์ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะสมองล้า ภาวะสับสน  ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ  อาการซึมเศร้า กลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำ และภาวะวิตกกังวล 

LONG COVID กับโรคทางระบบประสาทและสมอง

จากข้อมูลปัจจุบันพบว่า หากมีโรคประจำตัวทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคสมองเสื่อม หรือโรคพาร์กินสัน ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิด (LONG COVID) แต่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและติดเชื้อโควิด 19 ทำให้มีความเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้โรคกำเริบและอาการของตัวโรคแย่ลงเร็วกว่าคนที่ไม่มีการติดเชื้อ ยิ่งไปกว่านั้น มีข้อมูลพบว่าการติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนทางสมอง หรือทำให้อาการโรคเดิมแย่ลงได้มากกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดอื่น



การรักษา LONG COVID

ส่วนใหญ่การรักษาลองโควิด (LONG COVID) จะเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก ยังไม่มีการรักษาจำเพาะต่อภาวะนี้ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาวิจัยจำนวนมากเพื่อค้นหาการรักษา รวมถึงแนวทางในการป้องกันภาวะนี้ คงต้องรอติดตามผลการศึกษาดังกล่าวต่อไป สิ่งที่สามารถทำได้ดีที่สุดในตอนนี้เพื่อป้องกันคือการป้องกันตัวเองให้ไม่เป็นโควิด 19 ดูแลสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที


ประกันสุขภาพฟินชัวรันส์ คุ้มครองการเจ็บป่วยและโควิด 19

การรักษาภาวะ LONG COVID สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการเป็นหลัก ยังไม่มีการรักษาจำเพาะต่อภาวะนี้ รวมถึงแนวทางในการป้องกันภาวะนี้ ซึ่งยังคงต้องรอติดตามผลการศึกษาดังกล่าวต่อไป สิ่งที่สามารถทำได้ดีที่สุดในตอนนี้เพื่อป้องกันภาวะ LONG COVID ก็คือการป้องกันตัวเองให้ไม่เป็นโควิด19 ดูแลสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือเลือกที่จะเตรียมความพร้อมด้วยการทำ ประกันสุขภาพ ฟินชัวรันส์ จาก คิง ไว ประกันชีวิต ที่คุ้มครองค่ารักษาอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป อุบัติเหตุ และครอบคลุมกรณีที่ติดเชื้อโควิด19 ด้วย พร้อมสิทธิการคุ้มครองสุขภาพของคุณ ดังนี้

-คุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่ายสูงสุด 10 ล้านบาทต่อปี ค่าห้องสูงสุด 9,000 บาท

-คุ้มครองครบทั้งอุบัติเหตุ สุขภาพ เจ็บป่วยโรคทั่วไป โรคมะเร็ง โรคร้ายแรง ในกรมธรรม์ใบเดียว

-คุ้มครองค่ารักษาโควิด รวมถึงการเจ็บป่วยจากการแพ้วัคซีน

-ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ไม่จำกัดครั้งสูงสุด 50,000 บาทต่อปี

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ได้ที่ : https://www.kwilife.com/health

**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์











KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่