TH
TH EN
x

สรุป PDPA เกี่ยวกับธุรกิจที่คุณควรรู้ ฉบับเข้าใจง่าย

ในโลกที่ธุรกิจและการตลาดขับเคลื่อนด้วย “ข้อมูล” และข้อมูลนั้นได้กลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า และสำคัญมากๆ เพราะสามารถนำข้อมูลของลูกค้า ที่ได้รับไปต่อยอดทางธุรกิจต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้กฎหมาย PDPA ได้มีการประกาศใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ส่วน PDPA เกี่ยวกับธุรกิจอย่างไร มาดูไปพร้อมๆกันเลย

ที่มาของข้อมูล : easypdpa.com , scb.co.th

PDPA คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจในยุคนี้

กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หรือได้รับความยินยอมในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน

ในปัจจุบันบริษัทอาจได้รับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการสร้างกฎหมาย PDPA เพื่อให้บริษัทพนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน รวมถึงไม่ได้มีการขอความยินยอมก่อน จะกลายเป็นกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้

PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง?

เมื่อเราเข้าใจว่า PDPA คืออะไร? ทีนี้เรามารู้จักกับความหมายและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ PDPA กันบ้าง รวมถึงบุคคลประเภทไหนบ้าง? ที่อยู่ภายใต้ PDPA ที่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในจากที่ถูกต้อง หรือ สามารถได้รับความคุ้มครองเมื่อข้อมูลของตนนั้นถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด

โทษที่อาจเจอ หากไม่ปฎิบัติตาม PDPA

เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ การให้ข้อมูลแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนให้ข้อมูล 

-ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

-โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท


4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

ช่วงที่มีการประกาศใช้กฎหมาย PDPA ในช่วงแรกๆ มีคนจำนวนไม่น้อย ที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA และคิดว่าหลังจากนี้จะไม่สามารถถ่ายติดภาพใครได้ หรือไม่สามารถนำข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นมาใช้ได้เพราะกังวลว่าอาจจะทำผิดกฎหมาย PDPA มาดู 4 เรื่องไม่จริงที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA กันเลย


มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแล้ว เพิ่มความคุ้มครองทางการเงินด้วยออมคุ้มคุ้ม

การทำธุรกิจในปัจจุบันต้องระมัดระวังมากขึ้น พึงระวังเรื่องกฎหมายปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงกรณีข้อมูลถูกละเมิดก็จะน้อยลง สร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี เมื่อมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแล้ว อย่าลืมเพิ่มความคุ้มครองทางการเงิน ด้วยประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม Max ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ที่ให้คุณคุ้มอันดับหนึ่ง ออมก็ง่าย คืนก็คุ้มยิ่งกว่า 

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ออมคุ้มคุ้ม ได้ที่ : https://www.kwilife.com/endowment

**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์


KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่