TH
TH EN
x

Checklist ลดหย่อนภาษี 2563 เช็คให้ดี ก่อนยื่นภาษี 2564

Checklist ลดหย่อนภาษี 2563 เช็คให้ดี ก่อนยื่นภาษี 2564

อย่างที่ทราบกันดีว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำทุกปี จะต้องยื่นเรื่องเสียภาษี ซึ่งในแต่ละปีสิทธิพิเศษเพื่อลดหย่อนภาษีแตกต่างกันออกไปและต้องอัพเดตใหม่เป็นประจำทุกปี ว่าสามารถใช้สิทธิลดหย่อนอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะได้วางแผนและใช้สิทธิให้ตรงกับความต้องการ วันนี้เราจะมาอัพเดตรายการสิทธิลดหย่อนภาษีปี 2563 ก่อนยื่นภาษีปี 2564 มาดูกันครับว่ามีรายการอะไรที่เราสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ที่มาของข้อมูล : gobear.com, lumpsum.in.th, minimore.com, krungsri.com, aommoney.com


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563

ปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีในปี 2563 เป็นดังนี้

  • รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
  • รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
  • รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
  • รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
  • รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
  • รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
  • รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
  • รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ซึ่งคนที่ 2 เป็นต้นไป จะเพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่สำหรับบุตรบุญธรรม หรือในกรณีที่มีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากประกัน
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากประกัน
  • ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท (เนื่องจากปีนี้มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคมสูงสุดจาก 750 บาทต่อเดือน มาเป็น 150 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 และปรับมาเป็น 300 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน ก.ย. - พ.ย. 63 จึงทำให้สิทธิประโยชน์สูงสุดที่ได้รับนั้นลดลงกว่าปีก่อนๆ)
  • เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินออมและการลงทุน
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินออมและการลงทุน
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค
  • เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร) เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
  • โครงการช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนที่ติดค้างจากปีก่อน
  • โครงการบ้านหลังแรกปี 59 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

รวมข้อควรรู้ ก่อนยื่นภาษี
รวมข้อควรรู้ ก่อนยื่นภาษี

ค่าลดหย่อนคืออะไร?

ค่าลดหย่อน คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เสียภาษีน้อยลง

มีวิธีคำนวณภาษีอย่างไร?

รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ใครต้องยื่นภาษีบ้าง?

บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา

ต้องยื่นภาษีอย่างไร?

แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 คนที่มีเงินเดือนและรายได้อื่น ๆ ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ส่วนคนมีเงินเดือน โบนัส ค่าครองชีพให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 โดยสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 แต่หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ จะได้รับสิทธิ์ขยายเวลาการยื่นแบบฯ และชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน คือถึงวันที่ 8 เมษายน 2564

ลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง เลือกประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม
ลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง เลือกประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม

เมื่อได้ข้อมูลอัปเดตการยื่นภาษีไปแล้ว หวังว่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณ และการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราวางแผนและใช้สิทธิได้อย่างคุ้มค่า ถ้าอยากได้สิทธิลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง ประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม ตอบโจทย์แน่นอนครับ เพราะได้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ทุกปีที่ชำระเบี้ย การันตีผลตอบแทนรวมสูงถึง 555% ออมสั้นแค่ 5 ปี คุ้มครองยาวถึง 10 ปี คุ้มแบบนี้ หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม คลิกเลย! : https://bit.ly/38GB61y

*โปรดศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนซื้อประกันภัยทุกครั้ง

KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่